บทที่3

บทที่3

.ระดับของภาษา
          การใช้ภาษาขึ้นอยู่กับกาลเทศะ สถานการณ์ สภาวะแวดล้อม และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซึ่งอาจแบ่งภาษาเป็นระดับต่างๆได้หลายลักษณะ เช่น (ภาษาระดับที่เป็นแบบแผนและไม่เป็นแบบแผน),(ภาษาระดับพิธีการ ระดับกึ่งพิธีการ ระดับไม่เป็นทางการ) ในชั้นเรียนนี้ เราจะชี้ลักษณะสำคัญของภาษาเป็น ๕ ระดับ ดังนี้
          ๑.ระดับพิธีการ ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ได้แก่ การประชุมรัฐสภา การกล่าวอวยพร การกล่าวต้อนรับ การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร การกล่าวสดุดีหรือการกล่าวเพื่อจรรโลงใจให้ประจักษ์ในคุณความดี การกล่าวปิดพิธี เป็นต้น ผู้ส่งสารระดับนี้มักเป็นคนสำคัญสำคัญหรือมีตำแหน่งสูง ผู้รับสารมักอยู่ในวงการเดียวกันหรือเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ สัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารเป็นผู้กล่าวฝ่ายเดียว ไม่มีการโต้ตอบ ผู้กล่าวมักต้องเตรียมบทหรือวาทนิพนธ์มาล่วงหน้าและมักนำเสนอด้วยการอ่านต่อหน้าที่ประชุม
          ๒.ภาษาระดับทางการ ใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมหรือใช้ในการเขียนข้อความที่ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ หนังสือที่ใช้ติดต่อกับทางราชการหรือในวงธุรกิจ ผู้ส่งสารและผู้รับสารมักเป็นบุคคลในวงอาชีพเดียวกัน ภาษาระดับนี้เป็นการสื่อสารให้ได้ผลตามจุดประสงค์โดยยึดหลักประหยัดคำและเวลาให้มากที่สุด
          ๓.ภาษาระดับกึ่งทางการ คล้ายกับภาษาระดับทางการ แต่ลดความเป็นงานเป็นการลงบ้าง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารซึ่งเป็นบุคคลในกลุ่มเดียวกัน มีการโต้แย้งหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นระยะๆ มักใช้ในการประชุมกลุ่มหรือการอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน ข่าว บทความในหนังสือพิมพ์ เนื้อหามักเป็นความรู้ทั่วไป ในการดำเนินชีวิตประจำวัน กิจธุระต่างๆ รวมถึงการปรึกษาหารือร่วมกัน
          ๔.ภาษาระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับนี้มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่เกิน ๔-๕ คนในสถานที่และกาละที่ไม่ใช่ส่วนตัว อาจจะเป็นบุคคลที่คุ้นเคยกัน การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าวและการเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ โดยทั่วไปจะใช้ถ้อยคำสำนวนที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยกันมากกว่าภาษาระดับทางการหรือภาษาที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม เนื้อหาเป็นเรื่องทั่วๆไป ในการดำเนินชีวิตประจำวัน กิจธุระต่างๆรวมถึงการปรึกษาหารือหรือร่วมกัน
          ๕.ภาษาระดับกันเอง ภาษาระดับนี้มักใช้กันในครอบครัวหรือระหว่างเพื่อนสนิท สถานที่ใช้มักเป็นพื้นที่ส่วนตัว เนื้อหาของสารไม่มีขอบเขตจำกัด มักใช้ในการพูดจากัน ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรยกเว้นนวนิยายหรือเรื่องสั้นบางตอนที่ต้องการความเป็นจริง (การแบ่งภาษาดังที่กล่าวมาแล้วมิได้หมายความว่าแบ่งกันอย่างเด็ดขาด ภาษาระดับหนึ่งอาจเหลื่อมล้ำกับอีกระดับหนึ่งก็ได้)

          ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับความลดหลั่นตามระดับภาษา
          ๑.ภาษาที่ใช้ในระดับพิธีการ ระดับทางการและระดับกึ่งทางการ คำสรรพนามที่ใช้แทนตนเอง (สรรพนามบุรุษที่ ๑) มักใช้ กระผม ผม ดิฉัน ข้าพเจ้า คำสรรพนามที่ใช้แทนผู้รับสาร(สรรพนามบุรุษที่ ๒) มักจะใช้ ท่าน ท่านทั้งหลาย ส่วนภาษาระดับที่ไม่เป็นทางการและระดับกันเอง ผู้ส่งสารจะใช้สรรพนาม ผม ฉัน ดิฉัน กัน เรา หนู ฯลฯ หรืออาจใช้คำนามแทน เช่น นิด ครู หมอ แม่ พ่อ พี่ ป้า ฯลฯ
          ๒.คำนาม คำนามหลายคำเราใช้เฉพาะในภาษาระดับกึ่งทางการ ระดับไม่เป็นทางการและระดับกันเองเท่านั้น หากนำไปใช้เป็นภาษาระดับทางการจะต่างกันออกไป เช่น โรงจำนำ>สถานธนานุเคราะห์ โรงพัก>สถานีตำรวจ หมู>สุกร ควาย>กระบือ รถเมล์>รถประจำทาง หมา>สุนัข เป็นต้น
          ๓.คำกริยา คำกริยาที่แสดงระดับภาษาต่างๆอย่างเห็นได้ชัด เช่น ตาย อาจใช้ ถึงแก่กรรม เสีย ล้ม กิน อาจใช้ รับประทาน บริโภค
          ๔.คำวิเศษณ์ บางคำใช้คำขยายกริยา มักใช้ในระดับภาษาไม่เป็นทางการและระดับกันเองหรืออาจใช้ในภาระดับกึ่งราชการก็ได้ คำวิเศษณ์เหล่านี้มักเป็นมักเป็นคำบอกลักษณะหรือแสดงความรู้สึก เช่น เปรี้ยวจี๊ด เย็นเจี๊ยบ วิ่งเต็มเหยียด ฟาดเต็มเหนี่ยว เยอะแยะ ภาษาระดับทางการขึ้นมีใช้บ้าง เช่น เป็นอันมาก มาก

 
21.   ข้อใดเป็นการเขียนอวยพร
1.        จงเชื่อในความดี
2.        ขอให้มีความสุข
3.        ซ่าโดนใจ
4.        จงทำดี
 
22.   การเขียนเรียงความเรื่อง กล้วยพันธุ์ไม้สารพัดประโยชน์โครงเรื่องข้อใดจำเป็นน้อยที่สุด
1.         ลักษณะของกล้วย
2.         ประเภทของกล้วย
3.         ประโยชน์ของกล้วย
4.         ความเชื่อเกี่ยวกับกล้วย
23.   ข้อใดที่ต้องเขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของโครงงาน
1.         ข้อเสนอแนะ
2.         ที่มาของโครงงาน
3.         สรุปและอภิปรายผล
4.         ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
24.   หากมีข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพของคนในท้องถิ่น ควรเลือกจัดทำโครงงานประเภทใด
1.         ทฤษฎี
2.         สำรวจ
3.         ทดลอง
4.         ประดิษฐ์
25.   บุคคลใดมีมารยาทในการเขียนที่ไม่เหมาะสม
1.         สุมิตราใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไพเราะในการเขียนสื่อสาร
2.         แก้วตาเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำสุภาพ เหมาะสมกับระดับของผู้อ่าน
3.         สมปรารถนาค้นคว้าข้อมูลอย่างรอบด้านและหลากหลายก่อนลงมือเขียน
4.         ลีลาศึกษางานเขียนของผู้อื่น แล้วลงมือเขียนโดยคัดลอกข้อความนั้นๆ มา เพื่อแสดงหลักฐาน                        การค้นคว้า
26.   ข้อควรปฏิบัติในการเขียนโต้แย้งตรงกับข้อใด
1.         การจับใจความสำคัญ
2.         การใช้ภาษาในการถ่ายทอด
3.         การกำหนดขอบเขตประเด็น
4.         แสดงข้อบกพร่องทรรศนะของอีกฝ่าย
27.   บุคคลใดให้ข้อมูลสำหรับการเขียนแนะนำตนเองได้เหมาะสมน้อยที่สุด
1.         วราภรณ์บอกชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น อายุ ของตนเองให้เพื่อนๆ ฟัง
2.         ไมตรีบอกอุปนิสัยส่วนตัวและงานอดิเรกที่ชอบทำหากมีเวลาว่าง
3.         นวียาบอกสถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่ประสบผลสำเร็จ จากธุรกิจส่งออก
4.         ปฐมพงษ์บอกอาชีพของบิดา มารดา และสาเหตุที่ต้องย้ายจากโรงเรียนเดิม
 
28.   อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วระบุว่าเป็นการเขียนที่มีวัตถุประสงค์อย่างไร
         มะรุมจอมพลัง คนเรารู้จักใช้มะรุมเป็นยารักษาโรคผิวหนัง โรคทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดิน       อาหาร และโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ มานานหลายร้อยปีแล้ว อีกทั้งปัจจุบันยังได้รับการกล่าวขวัญถึงว่า อาจ     เป็นทางออกหนึ่งในการรับมือกับความอดอยากและภาวะทุพโภชนาการ พืชทนแล้งที่เติบโตเร็วในอัตรา       สูงถึง 3.6 เมตรต่อปี ชนิดนี้มีใบอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่
1.         การเขียนโน้มน้าวให้เชื่อ
2.         การเขียนเพื่อให้ความบันเทิง
3.         การเขียนเพื่อให้ความรู้
4.         การเขียนเพื่อชี้แจง
29.   ข้อใดมีความเกี่ยวข้องกับศิลปะการเขียนเรียงความน้อยที่สุด
1.         การเลือกใช้ถ้อยคำเพื่อสร้างลีลาการเขียนของตนเอง
2.         การเขียนข้อความในแต่ละส่วนให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
3.         การเลือกใช้ถ้อยคำที่มีความกระชับ ชัดเจน สื่อความตรงไปตรงมา
4.         ควรวางโครงเรื่องเพื่อให้การจัดลำดับความคิดในการนำเสนอเป็นไปโดยสมบูรณ์
30.   การอ่านในข้อใดที่ไม่ควรใช้หลักการย่อความ
1.         การอ่านโฆษณาจากหนังสือพิมพ์
2.         การอ่านสารคดีเชิงท่องเที่ยวจากจุลสาร
3.         การอ่านบทความเชิงอนุรักษ์จากนิตยสาร
4.         การอ่านขั้นตอนการประดิษฐ์จากนิตยสารรายปักษ์
31.   บุคคลใดต่อไปนี้ใช้วิธีการอ่านเพื่อย่อความได้ถูกต้อง
1.         บุปผาใช้วิธีการอ่านไปย่อไปเพื่อความรวดเร็ว
2.         มาลีอ่านเฉพาะย่อหน้าสุดท้ายเพื่อให้จับใจความสำคัญได้
3.         นารีอ่านเนื้อเรื่องให้เข้าใจโดยตลอดจนจบก่อนลงมือย่อความ
4.         ช่อผกาอ่านเฉพาะหัวข้อใหญ่แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นใจความสำคัญ
32.   ข้อใดจัดเป็นจดหมายกิจธุระ
1.         จดหมายถึงไก่เพื่อนรัก
2.         จดหมายถึงพ่อและแม่
3.         จดหมายขอความช่วยเหลือจากคุณป้า
4.         จดหมายสอบถามการรับสมัครนักเรียนฝึกงาน
 
 
 
33.   ระยะของการปฏิบัติโครงงานที่มีความเหมาะสมและถูกต้องตรงกับข้อใด
1.         ขั้นออกแบบ ขั้นลงมือ และรายงานผล ขั้นติดตามผล
2.         ขั้นออกแบบและเขียนเค้าโครง ขั้นลงมือ ขั้นรายงานผล
3.         ขั้นออกแบบ ขั้นเขียนเค้าโครง ขั้นลงมือ ขั้นแก้ปัญหา ขั้นรายงานผล
4.         ขั้นออกแบบ ขั้นเขียนเค้าโครง ขั้นลงมือ และแก้ปัญหา ขั้นรายงานผล
34.   ข้อใดไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมสำหรับการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำมาทำรายงานและโครงงานเชิงวิชาการ
1.         อ่านหนังสือ
2.         การสำรวจ
3.         การสร้างแบบสอบถาม
4.         การตัดต่อจากข้อมูลของผู้อื่น
35.   ข้อใดกล่าวถึงลักษณะสำคัญของการเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ได้ถูกต้องที่สุด
1.         เป็นกระบวนการเขียนเพื่อแสดงความรู้ของผู้เขียน
2.         เป็นกระบวนการเขียนเพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตาม
3.         เป็นกระบวนการเรียบเรียงเนื้อหาสาระที่ได้จากการศึกษาในประเด็นหนึ่ง ๆ
4.         เป็นกระบวนการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น โดยชี้ให้เห็นทั้งข้อดี และข้อด้อย
36.   พฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นของบุคคลที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ใครแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสม     ที่สุด
1.        พรแสดงความคิดเห็นในเรื่องส่วนตัวของกุ้ง
2.        หน่อยแสดงความคิดเห็นต่อความเชื่อของน้อย
3.        นิดแสดงความคิดเห็นโดยยึดเหตุผลของตนเองเป็นใหญ่
4.        แป้งแสดงความคิดเห็นต่อข่าวอาชญากรรมที่อ่านจากหนังสือพิมพ์
37.   พาดหัวข่าวในข้อใดใช้ภาษาเพื่อการแสดงความคิดเห็น
1.         รอนนี่ ชาน พ่อพระ นักอสังหาฯ
2.         เชียงรายตกหนัก คร่าชีวิตหญิงชรา 76
3.         ด้วยคะแนน 2 ต่อ 1 เชต วอลเล่ย์บอลสาวไทย
4.         ถึงไทยแล้วโรคมือ เท้า ปาก สธ.หาทางป้องกัน
38.   บุคคลใดต่อไปนี้มีลักษณะของผู้ฟังและดูที่ดี
1.         มาลีจะตั้งจุดมุ่งหมายก่อนการฟังและดูทุกครั้ง
2.         สมพิศไม่ชอบผู้ดำเนินรายการท่านนี้จึงไม่รับชมรายการ
3.         สมปองฟังสมชายซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกล่าวหาสมศรี แล้วเชื่อทันที
4.         สมพงศ์ไม่ได้จดบันทึกการฟังบรรยายของวิทยากรเพราะคิดว่าตนเองมีความจำที่ดี
 
39.   พิจารณาพฤติกรรมของบุคคลที่กำหนดให้ อนุมานว่าบุคคลใดน่าจะประสบผลสำเร็จในการฟังมากที่สุด
1.         กุ๊กเสียบหูฟังข้างหนึ่งเพื่อฟังเพลงจากคลื่นวิทยุขณะฟังอภิปราย
2.         กรณ์สนทนากับกันต์เกี่ยวกับประเด็นการอภิปรายที่พึ่งผ่านไปขณะฟัง
3.         ไก่ฟังการอภิปรายอย่างตั้งใจแต่ไม่สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องได้
4.         แก้วบันทึกเสียงของผู้อภิปรายขณะฟังการอภิปราย แล้วนำไปเปิดฟังอีกครั้งหนึ่งที่บ้าน เพื่อสรุปสาระสำคัญลงในแบบบันทึกการฟัง
40.   ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของการพูดที่ดีได้ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
1.         พูดแล้วขัดแย้ง
2.         พูดโดยใช้อารมณ์
3.         พูดแล้วผู้ฟังมีความสุข
4.         พูดแล้วบรรลุวัตถุประสงค์
 
21.      3                       22.      2                       23.      1                       24.      3                       25.      2
26.      2                       27.      3                       28.      2                       29.      2                       30.      3
31.      1                       32.      ไม่มีข้อถูก       33.      2                       34.      4                       35.      4
36.                                    4      37.                       2      38.                       1      39.                       2      40.      2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น