บทที่2

บทที่2
 
โครงสร้างของประโยคซับซ้อน

           ประโยคที่ซับซ้อน คือ การนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ประโยคความรวมและประโยคความซ้อนมาขยายความให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น
           ประโยคซับซ้อน เกิดจาก ประโยคสามัญ ที่แบ่งเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อนจากประโยคทั้งสามนี้เพิ่มคำขยายหรือข้อความขยาย การรวมประโยคสามัญดังกล่าวเข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นประโยคซับซ้อนขึ้น แต่สามารถสื่อสารชัดเจนและสละสลวย เพิ่มข้อความขยาย โดยมีหลักสำคัญ ดังนี้
           1. ตำแหน่งคำขยายในประโยค
           การขยายความในประโยคภาษาไทยนั้นส่วนขยายจะอยู่ด้านหลังข้อความที่จะไปขยาย เช่น
    • ตำรวจจำนวนห้านาย ประจำสถานีตำรวจนครเชียงใหม่ จับผู้ค้ายาบ้ารายใหญ่ที่ทางการ เคยทราบเบาะแสมาก่อนได้ เมื่อเช้าตอนสายวันอาทิตย์ที่ 21 เดือนนี้เอง
      • ประโยคนี้ประธาน คือ ตำรวจ
      • ส่วนขยาย คือ จำนวนห้านาย ประจำสถานีตำรวจนครเชียงใหม่
      • ตัวแสดงหรือคำกริยา คือ จับ
      • ส่วนขยาย คือ ได้เมื่อเช้าตอนสายวันอาทิตย์ที่ 21 เดือนนี้เอง
      • คำขยายกริยาเรียงไว้หลังกรรม หรือส่วนขยายกรรมเสมอ
      • กรรมในประโยคนี้ คือ ผู้ค้ายาบ้า
      • และส่วนขยายกรรม คือ รายใหญ่ที่ทางการเคยทราบเบาะแส
        มีข้อสังเกตยังหนึ่ง คือ ส่วนขยายกริยาที่บอกช่วงเวลาสามารถนำไปเรียงหน้าประธานในประโยคได้ด้วย ประโยคข้างต้นนี้เปลี่ยนแปลงได้ คือ
    • เมื่อตอนสายวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เดเอนนี้เอง ตำรวจจำนวนห้านายประจำสถานีตำรวจนครเชียงใหม่ จับผู้ค้ายาบ้ารายใหญ่ที่ทางการทราบเบาะแสมาก่อน
           2. ข้อระมัดระวังการวางคำขยาย
           การเรียงคำขยายเพื่อไม่ให้ความกำกวม หรือความคลาดเคลื่อน เพื่อสื่อสารได้ชัดเจน ควรให้คำขยายอยู่ใกล้กับคำที่จะไปขยาย ถ้าไม่เป็นเช่นนี้แล้วจะมีผลดังกล่าว เช่น
    • ผู้หญิงที่อุ้มลูกหมาหน้าตาคล้ายคุณเพิ่งเดินออกไปเมื่อครู่นี้เอง
        แก้เป็น ผู้หญิงหน้าตาคล้ายคุณที่อุมลูกหมาเพิ่งเดินออกไปเมื่อครู่นี้เอง
    • หนังสือพิมพ์เป็นยามเฝ้ารัฐบาลที่ดี
        แก้เป็น หนังสือพิมพ์ที่ดีเป็นยามเฝ้ารัฐบาล

ประโยคความเดียวที่ซับซ้อน
ประโยคความเดียวที่ซับซ้อนสามารถทำ ได้ดังนี้
          1.ความซับซ้อนในภาคประธาน ตัวประธานมีส่วนขยายที่เป็นคำและกลุ่มคำทำให้ประโยคความเดียว มีข้อความซับซ้อนขึ้น
            1.1 ประธานที่ขีดเส้นใต้ เป็นคำนำหน้าด้วยการหรือความ หรือคำอาการนาม ตามด้วยส่วนขยาย เช่น
    • การเฝ้าติดตามความเคลื่อไหวของกลุ่มดาวยามค่ำคืนทำให้พบดาวดวงใหม่
    • ความขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่งยวดเป็นผลให้ถึงจุดหมายปลายทาง
            1.2 ประธานที่ขีดเส้นใต้ มีคำและกลุ่มคำขยายประธาน ทำให้ความซับซ้อนเพิ่มขึ้น เช่น
    • บ้านพักคนงานบริษัทหลังใหม่บนเนินเขาสร้างเสร็จแล้ว
    • รถเมล์สาย 40 คันสีแดงเข้มคาดสีเหลืองวิ่งเร็วมาก
          2.ความซับซ้อนในภาคแสดง
            2.1 มีคำกริยาเป็นกลุ่มคำหลายคำ เช่น
    • กระรอกตัวนั้นกระโดดไปที่ผลมะพร้าว มันพยายาม กัด แทะ เคี้ยว และกลืนกินเนื้อ มะพร้าวอย่างเอร็ดอร่อย
    • คนป่ากลุ่มนั้นต่างกระโดด โลดเต้น ร่ายรำ และร้องเพลงไปตามจังหวะกลอง
            2.2 มีคำกริยาเป็นส่วนขยายอยู่หลายแห่งในประโยค เช่น
    • นักรียนต่างขยันเตรียมตัวสอบไล่โดยทบทวนตำรา อ่านเนื้อหาและสรุปประเด็นพร้อมกับท่องจำอย่างเข้าใจ
    • เขาพยายามพายเรือลำเล็ก ๆ มาทางริมสระน้ำ โดยไม่รีบร้อนนัก
        ข้อควรระมัดระวังประการหนึ่ง ในประโยคมีประธานอย่างเดียว แต่ทำกริยา ประกอบหลายอย่าง ต้องใช้วิภาคสรรพนาม คือ คำว่า บ้าง หรือ บาง มาช่วย เช่น
    • ผู้โดยสารเข้าคิวกันซื้อตั๋ว ออกันขึ้นรถ มองหาผู้นัดหมาย และซื้อของฝากญาติมิตร
        แก้เป็น ผู้โดยสารเข้าคิวกันซื้อตั๋ว บ้างออกันขึ้นรถ บ้างมองหาผู้นัดหมาย และ บ้างซื้อของฝากญาติมิตร
          **วิภาคสรรพนาม คือ บ้าง ได้แก่ ผู้โดยสารนั่นเอง และทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคสั้น ๆ ดังกล่าว

          ประโยคความรวมที่ซับซ้อน
          ประโยคความรวมที่ซับซ้อน คือ ประโยคความรวมที่มีข้อความซับซ้อนเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีประโยคความรวม ซ้อนกันหลายชั้น เช่น
    • ปรีชาไม่ชอบเล่นฟุตบอล แต่เขาชอบพนันฟุตบอล ดังนั้น เขามีปัญหาเรื่องการเงินและในที่สุดปรีชาหยุดการเรียนไปอย่างน่าเสียดาย
        ดังนั้น เป็นคำสันธานเชื่อมประโยคความรวมทั้ง 2 คู่เข้าด้วยกัน
    • บุญยืนเป็นเด็กกำพร้าพ่อแม่ ฉันจึงรับเขามาเลี้ยงดูด้วยความรักและส่งบุญยืนเรียนหนังสือ แต่ภายหลังเด็กคนนี้ขาดความเชื่อฟังฉันและไปคบเพื่อนที่เลว ดังนั้นเขาจึงติดยาเสพติดไปเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง
        แต่ เป็นคำสันธานเชื่อมประโยคความรวมทั้งหมด

ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน
ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน เช่น
    • ประเสริฐเดินทางไปสงขลาโดยรถด่วนสายใต้ขบวนยาวเหยียดเพราะช่วงนั้นเป็นเทศกาลสงกรานต์ที่ทุกคนพากันเดินทางท่องเที่ยว
        เพราะเป็นคำสันธานเชื่อมระหว่างประโยคความซ้อนเข้าด้วยกัน
    • ชายร่างผอมผิวคล้ำวัยกลางคนนั้นเดินเร็วมากจนฉันเดินตามแทบไม่ทัน แต่ขณะที่เขากำลังย่างขึ้นนั่งบนรถประจำทางสายปอ. 16 เมื่อฉันก้าวเท้าขึ้นรถคันนั้นพอดีเช่นกัน
        แต่ เป็นคำสันธานเชื่อมระหว่างประโยคความซ้อนเข้าด้วยกัน
          ประโยคที่ซับซ้อน ประกอบด้วย ประโยคความเดียวและประโยคความซ้อน
    • พระราชาองค์นี้ทรงทศพิธราชธรรมดียิ่ง ดังนั้น ราษฎรจึงรักพระองค์จนพวกเขาสละชีพเพื่อพระองค์ได้
      • ประโยคความเดียว = พระราชาองค์นี้ทรงทศพิธราชธรรมดียิ่ง
      • ประโยคความซ้อน = ราษฎรจึงรักพระองค์จนพวกเขาสละชีพเพื่อพระองค์
      • คำเชื่อมระหว่างประโยคความเดียวและประโยคความซ้อน = ดังนั้น
 
 
 
 
1.   การใช้ระดับเสียงให้มีความแตกต่างกันในขณะที่อ่าน มีประโยชน์ต่อการอ่านเนื้อหาสาระในข้อใดมาก                ที่สุด
      1.   นิทาน
      2.   ปาฐกถา
      3.   แถลงการณ์
      4.   พระบรมราโชวาท
2.   ประโยคในข้อใดอ่านออกเสียงไม้ยมกแตกต่างจากข้ออื่น
      1.   เธอเห็นลูกแมวตัวสีดำ ๆ วิ่งมาทางนี้บ้างหรือไม่
      2.   เด็กตัวเล็ก ๆ เมื่อตะกี้ เป็นหลานชายของฉันเอง
      3.   ในวันหนึ่ง ๆ ป้าแกต้องอาบเหงื่อต่างน้ำหาบของไปขายทุกวัน
      4.   ทุก ๆ วัน แถวนี้จะเต็มไปด้วยรถนานาชนิดที่ทำให้การจราจรคับคั่ง
3. ข้อความใดแบ่งจังหวะวรรคตอนในการอ่านได้ถูกต้อง
      1. มีคน/จำนวนไม่น้อย/เชื่อว่าความตายเป็นสิ่งที่จัดการได้//จัดการในที่นี้หมายถึง/
      2.   เราเชื่อว่า/ทุกอย่างจัดการได้/เพราะเรามีเทคโนโลยี/เรามีเงิน/เรามีความรู้/เราจึงมั่นใจว่า/เราสามารถ                               จัดการ/สิ่งต่างๆ ได้
      3.   เราสามารถจัดการธรรมชาติ/เราสามารถจัดการสังคม/และเราเชื่อว่า/เราสามารถจัดการร่างกายของเรา                            ได้
      4.   โฆษณาทุกวันนี้/บอกเราว่าทุกอย่างจัดการได้//เราจึงเชื่อจริงๆ ว่า/ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จัดการไม่ได้/                                รวมทั้งความตาย
4.   ข้อใดไม่มีความเกี่ยวข้องกับการอ่านจับใจความสำคัญ
      1.   การจับใจความสำคัญเป็นทักษะเบื้องต้นของการรับสาร
      2.   ใจความสำคัญคือความคิดสำคัญหรือประเด็นสำคัญของเรื่อง
3.        การจับใจความสำคัญสามารถทำได้ทั้งการรับสารด้วยการอ่านและการฟัง
4.        การจับใจความสำคัญด้วยการฟังไม่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมก่อนการฟัง
 
 
 
5.        ท้องฟ้ามีอยู่แบบท้องฟ้า ก้อนเมฆลอยอยู่แบบก้อนเมฆ พระอาทิตย์สาดแสงในแบบของพระอาทิตย์                 นกร้องแบบที่มันร้อง ดอกไม้สวยงามเป็นธรรมชาติของดอกไม้ ลมพัดเพราะมันคือลม หอยทากเดินช้าอย่างที่หอยทากเป็น เหมือนธรรมชาติกำลังกระซิบบอกฉันว่ามันเพียงเป็นของมันอย่างนั้น มันไม่ร้องขอ ฉันจะมองเห็นมัน หรือไม่เห็นมัน มันไม่เรียกร้องให้ต้องชื่นชม ต้องแลกเปลี่ยน ต้องขอบคุณ เป็นของมันอย่างนั้น ไม่ได้ต้องการอะไร มันเพียงแต่เป็นไป ทุกอย่างเป็นธรรมชาติของมันใจความสำคัญของข้อความนี้ตรงกับข้อใด
1.        ธรรมชาติไม่เคยสนใจมนุษย์
2.        ธรรมชาติไม่เคยเรียกร้องอะไรจากมนุษย์
3.        ธรรมชาติไม่ต้องการคำชื่นชมจากมนุษย์
4.        ทุกอย่างที่เป็นธรรมชาติ ล้วนมีความสวยงาม
6. คำในข้อใดมีความหมายอ้อม
1. น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
2.        อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
3.        โบราณว่าถ้าเหลือกำลังลาก ให้ออกปากบอกแขกช่วยแบกหาม
4.        ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
7. ข้อใดสำคัญที่สุดในการเขียนกรอบความคิด
      1. การจับใจความสำคัญ
      2.   การลากเส้นโยงนำความคิด
3.        การกำหนดรูปแบบในการนำเสนอ
4.        การใช้ภาพหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง
8. คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ตัว ยังคงอยากได้อะไรที่มากขึ้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง เกียรติยศชื่อเสียงหรือ    ความรัก และก็มักจะไม่ได้ดังใจนึก ความทุกข์ก็ยิ่งมากขึ้นตามวัยที่มากขึ้นด้วยใจความสำคัญของ        ข้อความนี้ตรงกับข้อใด
1.        ความอยากของมนุษย์เพิ่มตามอายุ
2.        คนเราเมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการจะเพิ่มมากขึ้น
3.        ถ้ามนุษย์อยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด ก็จะยิ่งมีแต่ความทุกข์
4.        ความทุกข์ของมนุษย์เกิดจากความต้องการในทรัพย์สิน เงินทอง
9. ข้อใดให้ความหมายของคำว่า วิเคราะห์ได้ถูกต้องที่สุด
1.        พิจารณาความหมายแฝงเร้นของเรื่อง
2.        พิจารณาเจตนาหรือแนวคิดสำคัญของเรื่อง
3.        พิจารณาย่อหน้าเพื่อจับสาระสำคัญของเรื่อง
4.        พิจารณาแยกแยะองค์ประกอบแต่ละส่วนภายในเรื่อง
10.   ผู้ใดเกิดเป็นสตรีอันมีศักดิ์                         บำรุงรักกายไว้ให้เป็นผล
         สงวนงามตามระบอบไม่ชอบกล            จึงจะพ้นภัยพาลการนินทา
      ข้อคิดที่ได้รับจากบทร้อยกรองข้างต้นตรงกับข้อใด
1.        เป็นผู้หญิงต้องรู้จักรักนวลสงวนตัว
2.        เป็นผู้หญิงต้องรู้จักเจียมเนื้อเจียมตัว
3.        เป็นผู้หญิงต้องงดเว้นการนินทาว่าร้าย
4.        เป็นผู้หญิงต้องแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
11.   ข้อใดเป็นวิธีการอ่านตีความร้อยกรอง
1.         ตีความจากสาระสำคัญของเรื่อง
2.         ตีความถ้อยคำโดยพิจารณาจากบริบท
3.         ตีความข้อความโดยเปรียบเทียบสำนวนโวหารที่ใช้
4.         ตีความโดยทำความเข้าใจเรื่องภาษาภาพพจน์ที่ใช้ในงานเขียน
12.   ข้อใดเรียงลำดับถูกต้อง
1.         เล่าเรื่อง วิเคราะห์เรื่อง กล่าวถึงบริบท บอกจุดมุ่งหมาย ประเมินค่า
2.         เล่าเรื่อง บอกจุดมุ่งหมาย วิเคราะห์เรื่อง กล่าวถึงบริบท ประเมินค่า
3.         เล่าเรื่อง กล่าวถึงบริบท บอกจุดมุ่งหมาย วิเคราะห์เรื่อง ประเมินค่า
4.         เล่าเรื่อง วิเคราะห์เรื่อง กล่าวถึงบริบท บอกจุดมุ่งหมาย ประเมินค่า
13.   การอ่านวินิจสารมีความลึกซึ้งแตกต่างจากการอ่านจับใจความสำคัญในประเด็นใด
1.         การสรุปเนื้อหา
2.         การบอกประเภท
3.         การประเมินคุณค่า
4.         การบอกองค์ประกอบ
14.   ข้อใดปรากฏคำที่มีความหมายโดยนัย
1.         ปฐมพงษ์เดินไปที่ห้องครัวแล้วลื่นล้มเตะแก้วแตก
2.         กระโปรงตัวนี้ตัดเย็บสวยเตะตาฉันจริง ๆ เชียว! เธอ
3.         โด่งซ้อมเตะฟุตบอลที่สนามกีฬาของโรงเรียนทุก ๆ เย็น
4.         จ้อยเตะสุนัขที่กำลังจะเดินตรงเข้ามากัดที่โคนขาของเขา
15.   จุดประสงค์สำคัญที่สุดของการคัดลายมือตรงกับข้อใด
1.         ฝึกฝนสมาธิให้แก่ตนเอง
2.         ฝึกฝนความเพียรพยายามให้แก่ตนเอง
3.         เพื่อสร้างมาตรฐานเกี่ยวกับรูปแบบตัวอักษรไทย
4.         เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้เกิดขึ้นแก่คนในชาติ
16.   การระบุว่าข้อความหนึ่ง ๆ คัดด้วยอักษรรูปแบบใด ข้อใดคือจุดสังเกตสำคัญ
1.         การเว้นช่องไฟ
2.         โครงสร้างของตัวอักษร
3.         การลงน้ำหนักมือบนตัวอักษร
4.         ความเสมอต้นเสมอปลายของตัวอักษร
17.   ลายมือที่ไม่ชัดเจนเป็นผลเสียอย่างไร
1.         ทำให้งานเขียนไม่น่าสนใจ
2.         ทำให้วิเคราะห์ผลงานไม่ได้
3.         ทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร
4.         ทำให้สื่อสารไม่ตรงวัตถุประสงค์
18.   รูปประโยคต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
1.         เขาทำอะไรเก้งก้างไม่ทันกิน
2.         ตำรวจกำลังซักฟอกผู้ต้องหา
3.         พจน์ร้องเพลงเสียงหวานปานนกการเวก
4.         ออมเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัวเมื่ออยู่กับผู้ใหญ่
19.   ชุ่มคอโดนใจเป็นงานเขียนประเภทใด
1.        คำคม
2.        คำขวัญ
3.        โฆษณา
4.        คำแนะนำ
20.   ถ้าต้องเขียนจดหมายเรียนเชิญวิทยากรมาบรรยายในหัวข้อที่กำหนด ภาษาที่ใช้ในการเขียน ควรมี          ลักษณะอย่างไร
1.         ข้อความสั้นกะทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อ
2.         ใช้ภาษาฟุ่มเฟือย แต่อ่านเข้าใจง่าย
3.         ภาษาแบบแผน ใช้ศัพท์วิชาการสูงๆ
ภาษากึ่งแบบแผนหรือแบบแผน สร้างความประทับใจให้ผู้รับ




   1.      3                         2.      1                          3.      1                         4.      1                          5.      2
   6.      3                         7.      1                          8.      3                         9.      2                       10.      1
11.      2                       12.      2                       13.      3                       14.      3                       15.      1
16.      2                       17.      1                       18.      4                       19.      4                       20.      4

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น