บทที่4

บทที่4

การใช้คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
          คำทับศัพท์ คือ คำในภาษาไทยที่มีรากมาจากภาษาอื่นโดยเอามาใช้ทั้งคำซึ่งการออกเสียงอาจเพี้ยนไปจากเดิมเล็กน้อยแต่การเขียนเป็นการเขียนด้วยภาษาไทย ซึ่งการเขียนทับศัพท์ในปัจจุบันคือการเขียนคำภาษาไทยที่เป็นทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษแต่ก็ยังเขียนผิดบ่อยๆซึ่งบางคำที่เราคิดว่าเขียนถูกอ่านแล้วได้เสียงแบบภาษาอังกฤษแต่บางคำนั้นอาจยังไม่ใช่วิธีเขียนที่ถูกต้องวันนี้จึงมีตัวอย่างคำที่ถูกต้องมาให้เพื่อนๆได้ลองสังเกตและนำไปใช้กันเช่น
  • carrot                      การเขียนทับศัพท์ในภาษาไทยที่ถูกต้อง คือ       แคร์รอต
  • cherry                     การเขียนทับศัพท์ในภาษาไทยที่ถูกต้อง คือ       เชอร์รี
  • locker                     การเขียนทับศัพท์ในภาษาไทยที่ถูกต้อง คือ       ล็อกเกอร์
  • strawberry              การเขียนทับศัพท์ในภาษาไทยที่ถูกต้อง คือ       สตรอว์เบอร์รี
  • apartment               การเขียนทับศัพท์ในภาษาไทยที่ถูกต้อง คือ       อะพาร์ตเมนต์
  • application              การเขียนทับศัพท์ในภาษาไทยที่ถูกต้อง คือ       แอปพลิเคชัน
  • digital                     การเขียนทับศัพท์ในภาษาไทยที่ถูกต้อง คือ       ดิจิทัล
  • upload                    การเขียนทับศัพท์ในภาษาไทยที่ถูกต้อง คือ       อัปโหลด
           ศัพท์บัญญัติ  คือ คำศัพท์  ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนเอกสารของทางราชการ และการเรียนการสอน ผู้ออกศัพท์บัญญัติในปัจจุบัน คือ ราชบัณฑิตยสถาน
           ศัพท์บัญญัติจะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ต่างๆ เช่น
           ตัวอย่างศัพท์บัญญัติ
    • แฟลต , อพาร์ตเม้นต์                = ห้องชุด
    • คอมพิวเตอร์                           = คณิตกรณ์
    • ดีวีดี                                      = แผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิตอล
    • ปริ้นเตอร์                               = เครื่องพิมพ์
    • อินฟีนีตี้                                 = อนันต์
    • ซิมการ์ด                                = บัตรระบุผู้เช่า
    • ซิม                                       = มอดูลระบุผู้เช่า
    • จอยสติ๊ก                                = ก้านควบคุม
    • ซีพียู                                     = หน่วยประมวลผลกลาง
    • คีย์บอร์ด                                = แผงแป้นอักขระ
    • วิทยุ                  จากคำ            Radio
    • คมนาคม            จากคำ            Communication
    • ไปรษณียบัตร      จากคำ            Post card
    • บรรณาธิการ        จากคำ            Editor
    • ตำรวจ                จากคำ            Police
    • โทรเลข              จากคำ            Telegram
    • โทรศัพท์             จากคำ           Telephone
 
ส่วนที่ 1   :     แบบปรนัย 4 ตัวเลือก แต่ละข้อมีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
                         จำนวน 13 ข้อ (ข้อ 1-13)  :  ข้อละ 3 คะแนน รวม 39 คะแนน
 
                      หอมไฟไหม้ดินกลิ่นอิฐ                           เรียงติดลงเตาเผาแต่ง
                ดินดำคล้ำคลายกลายแดง                                  ละก้อนล้วนแกร่งกร่างไกร
                  ดินดงลงบ่อหล่อเบ้า                                     คลุกเถ้าคลึงถาดปาดไถ
                กดแท่นแป้นทับฉับไว                                 ลงมือลงไม้ไฟรุม
                   น้ำทุ่งน้ำท่ามาอาบ                                   มานาบมานวดดินนุ่ม
                เมืองล่างเมืองบนชนชุม                                         มือนี้ที่กรุมกรำงาน
                   ปั้นดินปาดดินประดัง                                    เป็นวังเป็นวัดพัสถาน
                ปูทางเท้าคนทนทาน                                         บันดาลด้วยมือแรงเรา
  1.        บุคคลใดต่อไปนี้นำสาระสำคัญของบทประพันธ์นี้ไปใช้ตรงตามจุดประสงค์ของผู้ประพันธ์
         1.   คมกริช คิดว่าการทำอิฐไม่ยากอย่างที่คิดจึงลงมือทำอิฐเพื่อสร้างบ้านเอง
         2.   คงฤทธิ์ ตั้งใจว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็จะทำงานที่ยากลำบากด้วยตัวเอง
         3.   คงธนา เปลี่ยนวัสดุในการสร้างโรงรถจากเดิมที่จะใช้ไม้มาใช้อิฐทดแทน
         4.   คมกฤษ ใช้กวีนิพนธ์นี้เป็นส่วนนำในการเขียนความเรียงเรื่องขั้นตอนการทำอิฐ
  2.        คำประพันธ์นี้มีน้ำเสียงอย่างไร
         1.   ชื่นชม                              
         2.   ตื่นเต้น
         3.   ตื้นตัน                              
         4.   ประทับใจ
  3.        ใจความสำคัญของบทประพันธ์นี้อยู่ที่บทใด
         1.   บทที่ 1                            
         2.   บทที่ 2
         3.   บทที่ 3                           
         4.   บทที่ 4
 
 
  4.        ข้อใดมีคำซ้อน
         1.   ดินดงลงบ่อหล่อเบ้า        
         2.   คลุกเถ้าคลึงถาดปาดไถ
         3.   กดแท่นแป้นทับฉับไว     
         4.   ลงมือลงไม้ไฟรุม
  5.        ข้อใดไม่มีโครงสร้างเป็นประโยค
         1.   หอมไฟไหม้ดินกลิ่นอิฐ       
         2.   เรียงติดลงเตาเผาแต่ง
         3.   ดินดำคล้ำคลายกลายแดง      
         4.   ละก้อนล้วนแกร่งกร่างไกร
  6.        ข้อใดมีการใช้ภาพพจน์ลักษณะเดียวกับ มานาบมานวดดินนุ่ม
         1.   เรือนรายชายฝั่งทั้งสองฝาก                  
         2.   ป่าจากแซมรากลำพูร่อง
         3.   เรียงหินเป็นเขื่อนที่ชายคลอง                 
         4.   รับฟองคลื่นฟู่อยู่เย็นเย็น
 
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 7-13
       สิ่งที่มีค่าสูงสุดในชีวิตมนุษย์ก็คือ ตัวชีวิตเอง คำกล่าวนี้เป็นความจริงโดยที่ใครไม่อาจปฏิเสธ แต่ทั้งๆ ที่รู้ มนุษย์ก็ปฏิบัติกับชีวิตเหมือนไม่รู้จักรักชีวิต หากจะเปรียบก็คงเป็นเช่นเสนาอมาตย์ ข้าราชบริพารของพระมหาชนกที่ชอบรับประทานมะม่วง แต่ขณะเดียวกันกลับโค่นต้นมะม่วงทิ้ง มนุษย์รักชีวิต แต่ปฏิบัติต่อชีวิตไม่ถูกต้อง ชีวิตอันเป็นสิ่งสูงค่ายิ่งกว่าสมบัติบรรดามีใดทั้งหมดของตน ก็เลยพลอยมีอันแตกหัก บิ่นร้าว แหลกสลายลงไปก่อนวัยอันสมควร
      น่าเสียดายชีวิตที่ถูกเหวี่ยงไปอย่างไร้จุดหมายวันแล้ววันเล่า ล่องลอยไปในกระแสกิน กาม เกียรติเหมือนขอนไม้แห้งหรือกอสวะที่ไร้อนาคต แทนที่เราจะเป็นฝ่ายกำหนดชีวิตกลับปล่อยให้ชีวิตถูกกิเลส สังคม
การงาน วัฒนธรรม ความหลงผิดมาเป็นฝ่ายกำหนดแทนที่จะเป็นนายของชีวิต กลับกลายเป็นทาสของชีวิต แทนที่จะเป็นฝ่ายเลือกใช้ชีวิต กลับถูกชีวิตผลักไสไปตามยถากรรม
      ทำไมไม่อนุญาตให้ตัวเองได้อยู่เงียบๆ คนเดียวสักระยะหนึ่งแล้วลองไตร่ตรองมองตนดูว่า หลายขวบปี
ที่ผ่านมาเราได้ใช้ชีวิตไปให้คุ้มค่ามากหรือน้อยเพียงไร มีสิ่งใดที่ควรแก่ความภูมิใจ และมีสิ่งใดควรแก่ความสลดสังเวชกับการกระทำของตัวเอง พินิจตนด้วยตนสอนตนด้วยตน ดีกว่าให้ใครต่อใครมากมายมาเสี้ยมสอนซึ่งแน่นอนว่าเรารับฟัง แต่คงไม่มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆ เหมือนกับการสอนตนด้วยตนเอง
 
 
       มนุษย์เกิดมาในโลกอย่างมีความหมาย ไม่มีใครเกิดมาไร้ค่าหรือเกิดมาเพื่อจะถูกลืมยกเว้นแต่คนที่พยายามจะทำให้คนอื่นลืมตนเอง ไม้ทุกต้น หญ้าทุกชนิด ก็เช่นเดียวกับนอตทุกตัวที่ผลิตขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจใดภารกิจหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเสมอ มนุษย์ก็เช่นกัน ต่างมาสู่โลกนี้เพื่อจะบำเพ็ญกรณีบางอย่างบางประการ ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน มนุษย์ทุกคนล้วนมีศักยภาพแฝงเร้นที่จะบรรลุภารกิจของตนได้อย่างงดงามทั้งสิ้น แต่มนุษย์ตระหนักรู้ถึงศักยภาพพิเศษของตนตรงนี้หรือไม่
        น้ำเน่าอาจระเหยกลายเป็นเมฆฝนหล่อเลี้ยงผืนโลก กรวดทรายต่ำต้อยอาจถูกหล่อหลอมเป็นศิลป์
สถาปัตย์ที่ทรงคุณค่าระดับสากล ข้าวเปลือกในนาอาจกลายเป็นสุธารสของพระมหาจักรพรรดิ ลูกกุลีอาจกลายเป็นเศรษฐีพันล้าน ฯลฯ ขอเพียงมนุษย์ไม่ดูถูกตัวเองตระหนักรู้ถึงศักยภาพพิเศษที่ซ่อนอยู่ในตน แล้วเพียรเจียระไนชีวิตให้แวววาวพราวพรายด้วยการศึกษาเรียนรู้ ซึมซับเก็บรับบทเรียนจากการงานและการใช้ชีวิตอย่างสุขุม ก็ย่อมจะมีชีวิตที่คุ้มค่า สงบ ร่มเย็น และเป็นสุขไม่ยากเย็น
 
  7.        ใจความสำคัญของข้อความที่คัดมาให้อ่านคือข้อใด
         1.   มนุษย์ควรจัดสรรเวลาส่วนหนึ่งของชีวิตสำหรับตัวเองเพื่อทำความเข้าใจชีวิต
         2.   ชีวิตของมนุษย์ทุกคนมีคุณค่าขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์มองเห็นคุณค่านั้นหรือไม่
         3.   คนที่ปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามกิเลสคือคนที่ใช้ชีวิตอย่างไร้จุดหมาย
         4.   ไม่มีคำสอนของผู้ใดที่จะดีเท่าคำสอนที่ตนเองสอนตนเองด้วยตนเอง
  8.         จากข้อความที่คัดมาให้อ่าน ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง
         1.   ไม่มีใครมีความรู้ที่จะสอนเราได้นอกจากตัวของเราเอง
         2.   มนุษย์ทุกคนเกิดมาบนโลกนี้มีหน้าที่ของตัวเอง
         3.   คนที่ดูถูกตัวเองแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่ไม่มีการศึกษา
         4.   ชีวิตเป็นเหมือนพลอยที่ถ้าแตกหัก บิ่น ร้าว ก็ไร้ค่า
  9.        ข้อใดใช้ภาษาไม่เป็นทางการในการเขียน
         1.   ขอเพียงมนุษย์ไม่ดูถูกตัวเอง ตระหนักรู้ถึงศักยภาพพิเศษที่ซ่อนอยู่ในตน
         2.   แล้วเพียรเจียระไนชีวิตให้แวววาวพราวพรายด้วยการศึกษาเรียนรู้
         3.   ซึมซับเก็บรับบทเรียนจากการงานและการใช้ชีวิตอย่างสุขุม
         4.   ก็ย่อมจะมีชีวิตที่คุ้มค่า สงบ ร่มเย็น และเป็นสุขไม่ยากเย็น
10.         คำว่า ข้าวเปลือกในนา ในย่อหน้าที่ 5 หมายความถึงสิ่งใด
         1.   ความภาคภูมิใจของมนุษย์
         2.   การใช้ชีวิตอย่างสุขุมของมนุษย์
         3.   ความสามารถพิเศษของมนุษย์
         4.   การมีชีวิตอย่างคุ้มค่าของมนุษย์
 
11.         ข้อความข้างต้นมีเนื้อหาใกล้เคียงกับสุภาษิตในข้อใดมากที่สุด
         1.   รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา                 
         2.   ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง
         3.   ไม้อ่อนดัดง่ายไม้แก่ดัดยาก             
         4.   ช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงาม
12.         ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของข้อความนี้
         1.   เพื่อย้ำให้เห็นความสำคัญของมนุษย์ในฐานะที่เป็นสัตว์สังคม
         2.   เพื่อเชิญชวนให้ผู้อ่านทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับการทำงาน
         3.   เพื่อแนะนำให้หันกลับมาพิจารณาและพัฒนาชีวิตของตนเอง
         4.   เพื่อสั่งสอนให้ไม่ลุ่มหลงอยู่ในกิเลสและความยั่วยุทั้งปวง
13.         ประโยค มนุษย์ทุกคนล้วนมีศักยภาพแฝงเร้นเกินที่จะบรรลุภารกิจของตนเองได้อย่างงดงามทั้งสิ้น
             เป็นประโยคชนิดใด
         1.   ประโยคความเดียว                        
         2.   ประโยคความเดียว 2 ประโยค
         3.   ประโยคความซ้อน                        
         4.   ประโยคความรวม
 
ส่วนที่ 2   :     แบบปรนัยหลายตัวเลือก (ข้อ 14-15) แต่ละข้อให้เลือกจำนวนคำตอบตามที่โจทย์กำหนด
ข้อ 14 = 4 คะแนน ตอบถูก 2 คำตอบได้ 2 คะแนน ตอบถูก 3 คำตอบได้ 3 คะแนน ตอบถูกครบได้ 4 คะแนน
ข้อ 15 = 7 คะแนน ตอบถูก 2 คำตอบได้ 2 คะแนน ตอบถูก 3 คำตอบได้ 4 คะแนน ตอบถูก 4 คำตอบได้
5 คะแนน ตอบถูกครบได้ 7 คะแนน
14.   ให้นักเรียนเลือกข้อความต่อไปนี้เติมลงในช่องว่างเพื่อที่จะทำให้แผนผังความคิดนี้มีความถูกต้อง
         สมบูรณ์ โดยเลือกคำตอบที่ดีที่สุด
4 คำตอบ จาก 8 ข้อความที่กำหนดให้
 

 
 
 
 
 
 
 
 

         1.   ความคิดของผู้คนที่แตกต่าง ก็อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
         2.   โบราณสถาน โบราณวัตถุ มรดกล้ำค่าของแผ่นดิน
         3.   พระพุทธศาสนา สอนให้คนตระหนักรู้กฎแห่งกรรม
         4.   นักเรียนไทย เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ
         5.   ภูเขาใหญ่ ดอกไม้สวย ทะเลใส ธรรมชาติงดงาม
         6.   รอยยิ้ม มิตรภาพ น้ำใจไมตรี ใครๆก็เป็นพี่น้องกัน
         7.   ขวานทองของไทย แหล่งแร่ทองคำมากที่สุดในเอเชีย
         8.   พระมหากษัตริย์ไทย แหล่งรวมจิตใจของผองชน
15.         จงเลือก(1)การเขียนวันที่ (2)คำขึ้นต้นจดหมาย (3) คำขึ้นต้นเนื้อความ (4)คำลงท้ายเนื้อความและ (5)คำลงท้ายของจดหมาย ต่อไปนี้เพื่อให้จดหมายต่อไปนี้สมบูรณ์
 
(1) การเขียนวันที่
(2) คำขึ้นต้นจดหมาย
1.          วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554
2.          14 กุมภาพันธ์ 2554
3.          วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.. 2554
4.          วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.. 2554
5.          วันจันทร์ ขึ้น 11 ค่ำ ปีขาล จ.. 1372
1.          เรียน
2.          สวัสดี
3.          กราบเท้า
4.          นมัสการ
5.          เจริญพร
 
(3) คำขึ้นต้นเนื้อความ
(4) คำลงท้ายเนื้อความ
(5) คำลงท้ายของจดหมาย
1.          สวัสดี
2.          ตามที่
3.          อนุสนธิ
4.          เนื่องจาก
5.          ไม่ต้องใช้คำขึ้นต้น
1.          จึงเรียนมาเพื่อทราบ
2.          จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
3.          จึงเรียนมาเพื่อขอ
4.          จึงนมัสการมาเพื่อ
5.          ไม่ต้องใช้คำลงท้าย
1.          ด้วยความเคารพอย่างสูง
2.          ด้วยรักและเคารพ
3.          ขอแสดงความนับถือ
4.          ขอให้เจริญในธรรม
5.          สวัสดี
 
41.         คำประพันธ์ในข้อใด อ่านแบ่งวรรคได้ถูกต้อง
      1.         สมรรถชัยไกร / กาบแก้ว
               แสงแวววับ / จับสาคร
         2.         เลียงผา / ง่าเท้าโผน
                เพียงโจน / ไปในวารี
         3.         สายัณห์ / ตะวันยาม
                ขณะ / ข้ามฑิฆัมพร
         4.         เรือน้อย / ลอยน้ำ / ขำคม
                บัวฉม / ชูล้อม / ห้อมเรือ
42.              จากกำเนิดตัวเปล่าเท่ากันหมด                             มาสู่ยศศักดิ์ศรีที่แตกต่าง
             จากความรวยจนชั่วดีทั่วทาง                                      มาสู่ข้างหลุมเศร้าเน่าเหมือนกัน
        มนุษย์เท่ากันได้เมื่อตาย-เกิด                         ความดีเลิศชั่วช้าคือตรามั่น
        ไม่มีสัตว์โลกอื่นนับหมื่นพัน                        ครองชีวันวนเศร้าเท่านรชน
        มนุษย์รู้จักโลกโชคชีวิต                                 รู้จักผิดชอบชั่วดีทั่วถล
        ประหลาดเหลือเมื่อรู้ว่าชีวาวน                      ไยทุกคนไม่รู้ทำแต่กรรมดี
        กวีนิพนธ์ข้างต้นมีคุณค่าด้านใดเด่นชัดที่สุด
         1.   คุณค่าทางภาษา                                                         2.   คุณค่าทางสังคม
         3.   คุณค่าทางคติธรรม                                                   4.   คุณค่าทางการแพทย์
จงใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อที่ 43-45
       ดอกไม้ในร้านดอกไม้อาจเป็นเพื่อนร่วมทางกันมาตั้งแต่ที่ไร่จนถึงปลายทาง หรืออาจต่างมาจากต่างถิ่นกัน แต่ได้มาร่วมทางกัน แล้วแยกย้ายกันไป ดอกไม้ในแจกันเดียวกันอาจเหี่ยวไปพร้อมๆ กัน หรือมีดอกใดที่เหี่ยวไปก่อน
       คนจีนมีคำกล่าวว่า พี่น้องร้อยคนก็เหมือนคนเดียว เพราะบั้นปลายต่างคนต่างแก่มาดูแลกันไม่ไหว ซึ่งที่สุดแล้วก็ต้องมีคนไปก่อนและมีคนไปหลัง บางคนจึงมีเพื่อนตาย และหลายคนก็อาจไม่มี
       วันหนึ่งขณะผ่านหัวลำโพง เห็นยาย 2 คน พากันเดินด้วยไม้ไผ่ลำหนึ่ง ยายคนแข็งแรงนำหน้า จูงยายที่ตาฟางแล้วให้เดินตาม เท้าของยายทั้งสองก้าวช้าๆ เหมือนลานตุ๊กตาที่จวนหมด
       อยากให้ยายทั้งสองถึงที่หมายพร้อมกัน ไม่ใช่ทิ้งคนหนึ่งไว้ให้ต้องตายเพียงลำพังอย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย
43.   ความคิดสำคัญในข้อความข้างต้นตรงกับข้อใด
      1.   ความตายมาถึงมนุษย์ทุกคนในเวลาต่างกัน
         2.   ความตายเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถกำหนดได้
         3.   ความตายกับความชราเป็นทุกข์ของมนุษย์
         4.   ความตายเหมือนกับดอกไม้ในแจกันที่ร่วงโรย
44.         จุดประสงค์หลักของการเขียนข้อความข้างต้นตรงกับข้อใด
         1.   แสดงความรู้เรื่องดอกไม้
         2.   ตีโพยตีพายกับความชรา
         3.   ชวนให้เข้าใจโลกและชีวิต
         4.   เล่าประสบการณ์ที่ผ่านมา
45.         คำว่า ที่หมาย จากข้อความข้างต้นมีความหมายตรงกับข้อใด
         1.   อีกฝั่งหนึ่งของถนน
         2.   การสิ้นสุดของชีวิต
         3.   ความชราที่มาเยือน
         4.   บ้านของยายทั้งสอง
 
   1.      2                         2.      1                          3.      4                         4.      4                          5.      4
   6.      3                         7.      2                          8.      2                         9.      2                       10.      3
11.      1                       12.      3                       13.      1
14.      2 , 5 , 6 , 7                                          15.      2 , 1 , 4 , 3 , 3
41.                                    4      42.                       3      43.                       1      44.                       3      45.      2
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น